วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การศึกษาแบบ : มอนเตสซอรี่

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
ความเป็นมา
ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ (ค.ศ.1870-1952) ผู้ริเริ่มการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นผู้หญิงชาวอิตาลีคนแรกที่ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตจาก University of Rome เมื่อจบการศึกษาได้มีโอกาสทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและทางจิตที่คลินิกจิตแพทย์ของมหาวิทยาลัย จากการทำงานกับเด็กเหล่านี้ มอนเตสซอรี่เกิดแนวคิดและเกิดการเรียนรู้ว่าถ้าเด็กได้มีบางสิ่งบางอย่างที่จะจับต้องและบิดด้วยมือ สมองย่อมทำหน้าที่ตอบสนองได้มอนเตสซอรี่จึงได้คิดวิธีการสอนขึ้นมาจากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในวัยระยะเริ่มต้นว่า
"จุดม่งหมายในการให้การศึกษาระยะแรกนั้นไม่ใช้การเอาความรู้ไปบอกให้กับเด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝั่งให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรมชาติของเขา"
มอนเตสซอรี่ได้ศึกษางานของ Edward Seguin ผู้ที่ริเริ่มในการพัฒนาระบบการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและงานของ Jean Itard ที่พัฒนาระบบการศึกษาสำหรับคนหูหนวกผนวกกับการที่ได้มีประสบการณ์ตรงในการทำงานกับเด็ก และพบว่าการที่จะให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้นควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็กที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์และพิถีพิถัน
ดังนั้น การสอนแบบมอนเตสซอรี่ จึงได้มาจากการสังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็กไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็นจากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้โดยได้เริ่มต้นนำวิธีการสอนไปใช้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ต่อมาได้พัฒนาและทดลองทฤษฎีการสอนกับเด็กปกติที่ Casa Dei Bambini หรือ Children's House ในปี ค.ศ..907 เมื่อการสอนประสบความสำเร็จจึงได้เผยแพร่วิธีการสอนทั้งด้วยการบรรยาย เขียนหนังสือและบทความ การฝึกอบรมจากศูนย์ฝึกอบรม มีโรงงานจัดทำอุปกรณ์การสอนตลอดจนได้มีการจัดตั้งสมาคมมอนเตสซอรี่ขึ้นทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ในการเผยแพร่การสอนตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่
หลักการ
Morrison (998 : 96 - 1 0 ) และบุคคลต่างๆ ได้สังเคราะห์แนวคิดและแนวปฏิบัติของมอนเตสซอรี่ สรุปเป็นหลักการของการสอนได้ 5 ประเด็น ดังนี้
1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ (Respect for the child) เพราะเด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะของเขา ดังนั้นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรจะเหมาะกับเด็กแต่ละคน มอนเตสซอรี่ยืนยันในความเชื่อของตนเองที่ว่า ชีวิตของเด็กต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ไม่จัดการศึกษาให้แก่เด็กตามที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เป็น โดยนักการศึกษาและผู้ปกครองจะแสดงความเคารพนับถือเด็กได้หลายวิถี ทางช่วยให้เด็กทำงานได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมความเป็นอิสระให้แก่เด็กและเคารพความต้องการของเด็กแต่ละคน
2. เด็กมีจิตที่ซึมซาบได้ (The Absorbent Mind) มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กแต่ละคนไม่ได้รับการศึกษามาจากคนอื่น แต่เด็กคือผู้ให้การศึกษาแก่ตนเอง เราใช้จิตในการแสวงหาความรู้เด็กซึมซาบข้อมูลต่างๆ เข้าไปในจิตของตนเองได้ กระบวนนี้เห็นได้ชัดจากการที่เด็กเรียนภาษาแม่ได้เอง
พัฒนาการของจิตที่ซึมซาบได้มี 2 ระดับคือ
อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปีเป็นช่วงที่จิตซึมซาบโดยไม่รู้สึกตัว (Unconscious absorbent mind) เป็นการพัฒนาประสาทสัมผัสของการมองเห็น (seeing) การได้ยิน (hearing) การชิมรส (tasting) การดมกลิ่น (smelling) และการสัมผัส (touching) เด็กจะซึมซาบทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว
อายุ 3-6 ปี เป็นช่วงที่จิตซึมซาบโดยรู้สึกตัว (conscious absorbent mind) โดยเลือกสิ่งที่ประทับใจจากสิ่งแวดล้อม และพัฒนาประสาทสัมผัสต่างๆ การเลือกสรรมีความละเอียดลออเพิ่มขึ้น ในช่วงที่จิตซึมซาบโดยไม่รู้สึกตัว เด็กจะเห็นและซึมซาบสีโดยไม่ได้แยกแยะความแตกต่างของสีเหล่านี้เมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนาความสามารถในการที่จะแยกแยะ จับคู่ และเรียงลำดับสีได้
มอนเตสซอรี่ ได้ท้าทายให้ครูคิดเกี่ยวกับเรื่องจิตที่ซึมซาบได้ของเด็ก ว่าสิ่งที่เด็กเรียนรู้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับคนที่อยู่รอบตัว สิ่งที่คนเหล่านั้นพูดและทำ และปฏิกิริยาของคนเหล่านั้น
3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต (Sensitive Periods) วัย 3-6 ปีช่วงเวลานี้เด็กจะรับรู้ได้ไวและเรียนรู้ทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ครูจึงต้องสังเกตเด็ก เพื่อจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงแม้เด็กจะอยู่ในช่วงเวลาหลักเหมือนกัน แต่ขั้นตอนและจังหวะเวลาของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน ดังนั้นครูของมอนเตสซอรี ่หรือผู้ปกครองจําเป็นจะต้องหาช่วงเวลาของเด็กจัดให้เด็กประสบความสําเร็จได้สูงสุด การสังเกตจึงสําคัญสําหรับครูและผู้ปกครอง นักการศึกษาหลายคนเชื่อว่าข้อมูลที่ได้จากการสังเกตถูกต้องมากกว่าการใช้แบบสอบ
4. การตระเตรียมสิ่งแวดล้อม (The Prepared Environment) เด็กจะเรียนรู้ได้ดี ในสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ในสถานที่ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องที่บ้าน ห้องเด็กเล็ก หรือสนามเด็กเล่น จุดมุ่งหมายเพียงเพื่อให้เด็กมีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่เป็นสถานที่ที่เด็กจะได้ทําสิ่งต่างๆ เพื่อตนเอง ห้องเรียนในอุดมคติของมอนเตสซอรี่ คือเด็กเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วมในการเรียน
ในสิ่งแวดล้อมที่ตระเตรียมไว้ เด็กจะเรียนได้ตามความต้องการตัดสินใจเลือกอุปกรณ์ที่ต้องทํา มอนเตสซอรี่จะจัดโต๊ะ เก้าอี้ขนาดเด็กให้เด็กได้ทํางานเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มในห้องเรียน มีการทํางานบนพื้น มอนเตสซอรี่เห็นว่าโต๊ะครูไม่จําเป็น เพราะครูต้องไปทํางานกับเด็กอยู่แล้ว เธอได้เสนอแนะให้จัดเฟอร์นิเจอร์ทุกอย่างเป็นขนาดเด็ก กระดานดําขนาดต่ำพอที่เด็กจะใช้ พื้นที่ภายนอกซึ่งเด็กสามารถทําสวนหรือทํากิจกรรมกลางแจ้งได้
โดยเฉพาะห้องเรียน ต้องเป็นที่ที่เด็กสามารถทําสิ่งต่างๆ ได้ เล่นอุปกรณ์ที่วางไว้อย่างมีจุดมุ่งหมายและให้การศึกษาแก่ตน อิสระเป็นลักษณะที่สําคัญของการตระเตรียมสิ่งแวดล้อม เมื่อเด็กมีอิสระภายในสิ่งแวดล้อม เลือกทําอุปกรณ์ด้วยตนเอง เขาจะซึมซาบสิ่งต่างๆจากตรงนั้น
ผู้ใหญ่มักจะกลัวว่าเด็กจะใช้อิสระไม่เป็น เด็กจะมีอิสระในการใช้อุปกรณ์ที่จัดไว้ ภายใต้กรอบในการเลือกที่ครูได้จัดให้การเลือก (Choice) คือผลผลิตของวินัยและการควบคุมตนเองที่จะได้รู้จากสิ่งแวดล้อม
5. การศึกษาด้วยตนเอง (Self-or Auto Education) มอนเตสซอรี่เน้นความสนใจไปที่ความสามารถของมนุษย์ ศิลปะของการสอนรวมถึงการตระเตรียมสิ่งแวดล้อม เพื่อเด็กจะได้เข้าไปทํางานและเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากการที ่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมไว้อย่างสมบูรณ์การมีอิสระนี้มอนเตสซอรี่กล่าวว่า ไม่ใช่สัญลักษณืของเสรีภาพเท่านั้น แต่หมายถึงเส้นทางไปสู่การศึกษา เด็กมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต ได้มีโอกาสแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

ไม่มีความคิดเห็น: